หัวข้อ   “จาก 2G สู่ 3G สังคมไทยพร้อมแค่ไหน?”
                 ประชาชน 58.5% ตั้งตารอ ระบบ 3G เน้นใช้งานเพื่อบันเทิงมากกว่าสาระและความรู้

                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง “จาก 2G สู่ 3G สังคมไทยพร้อม
แค่ไหน?
”  โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  จำนวน
1,143 คน ผลการสำรวจพบว่า

                 ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พร้อมที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G แทน 2G หากมีการเปิดใช้อย่างเต็ม
รูปแบบ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 36.3 ระบุว่าพร้อมจะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 1 ปี ส่วนที่เหลือร้อยละ 16.7   และร้อยละ 5.5
ระบุว่าพร้อมจะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 3 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ   อย่างไรก็ดี ยังคงมีประชาชนอีกร้อยละ 41.5 ที่ยังไม่มี
แผนจะใช้ระบบ 3G ภายใน 5 ปี (ในจำนวนนี้ร้อยละ 29.6 คิดว่าจะไม่เปลี่ยนไปใช้เลย)   นั่นแสดงให้เห็นว่าระบบ
โทรศัพท์ 2G ยังคงมีความจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีอายุ 46 ปีขึ้นไป  โดยคนกลุ่มนี้จำนวนร้อยละ 58.1
ไม่คิดจะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G เลยโดยให้เหตุผลว่าระบบ 2G เดิมก็ดีอยู่แล้ว

                 เมื่อสอบถามถึงความรู้ความเข้าใจในระบบ 3G  พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.5 มีความรู้ในระดับปานกลาง
เท่านั้น(คือรู้ว่าเร็วขึ้น แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรได้บ้าง)   ส่วนร้อยละ 37.6 ไม่มีความรู้เลย และร้อยละ 13.9 มีความรู้ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเฉพาะประชาชนที่ระบุว่าจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ 3G   พบว่าร้อยละ 58.9 ของคนกลุ่มนี้ก็มีความรู้เกี่ยวกับระบบ
3G เพียงในระดับปานกลางเท่านั้น   นอกจากนี้ เมื่อทำการศึกษาลงลึกถึงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
(ระบบ 2G)  พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะเน้นใช้ประโยชน์เพื่อการบันเทิงเป็นหลัก(นอกเหนือจากการพูดคุยสนทนาตาม
ปกติ)  ขณะที่พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์หลังจากการเปิดใช้ระบบ 3G ประชาชนที่ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ระบบ 3G
ร้อยละ 31.1 ระบุว่าจะใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าสาระความรู้หรือเพื่อประโยชน์ในการทำงาน   ผลการสำรวจดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นว่าประโยชน์ของระบบ 3G ในช่วงเริ่มแรกของการเปิดใช้   จะยังคงมีอยู่อย่างจำกัดเท่านั้น  แต่คาดว่า
ประโยชน์จะเพิ่มขึ้นในอนาคตหากประชาชนมีความคุ้นเคยและมีความรู้ในระบบ 3G มากขึ้น

                 สำหรับการปรับเปลี่ยนโทรศัพท์จากระบบ 2G มาเป็นระบบที่รองรับ 3G กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตั้งใจที่จะ
เปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia คิดเป็นร้อยละ 56.2   รองลงมาเป็นยี่ห้อ iPhone ร้อยละ 17.4   และ Blackberry
ร้อยละ 11.8  ส่วนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการซื้อโทรศัพท์ระบบ 3G อยู่ที่ 5,000-10,000 บาท (ร้อยละ 37.0)
10,001-15,001 บาท (ร้อยละ 26.9)   และไม่เกิน 5,000 บาท (ร้อยละ 18.5)   ส่วนค่าใช้บริการ 3G ต่อเดือนสูงสุด
ที่ประชาชนรับได้อยู่ที่ 401-600 บาทต่อเดือน

                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. รูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เพื่อพูดคุย/SMS/MMS
100.0
เพื่อฟังเพลง/ฟังวิทยุ/ดูหนัง
58.3
เพื่อใช้เป็นนาฬิกาปลุก/เครื่องคิดเลข/ปฏิทิน
52.4
เพื่อถ่ายรูป/ถ่ายคลิป
51.9
เพื่อเล่นเกมต่างๆ
40.4
เพื่อเล่น internet/chat/สังคมออนไลน์
24.5
อื่นๆ เช่น Bluetooth GPS dictionary
3.4
 
 
             2. ความรู้ความเข้าใจในระบบ 3G ของประชาชน

 
ร้อยละ
ไม่มีความรู้เลย ไม่เข้าใจว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
37.6
มีความรู้ปานกลาง เช่น รู้ว่าเร็วขึ้น แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรได้บ้าง
48.5
มีความรู้มาก เช่น นอกจากเร็วขึ้นแล้วยังสามารถรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่,
                     Video Call, Download เพลง, ดู TV เป็นต้น
13.9
 
 
             3. หากมีการเปิดให้บริการ 3G อย่างเต็มรูปแบบ ท่านจะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G หรือไม่

 
ร้อยละ
เปลี่ยนไปใช้ ระบบ 3G
  • เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ภายใน 1 ปี
ร้อยละ 36.3
  • เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ภายใน 3 ปี
ร้อยละ 16.7
  • เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ภายใน 5 ปี
ร้อยละ  5.5
58.5
คงไม่เปลี่ยนไปใช้ ระบบ 3G ภายใน 5 ปี
11.9
ไม่เปลี่ยนไปใช้ เพราะระบบเดิม (2G) ก็ดีอยู่แล้ว
29.6
 
 
             4. หากมีการเปิดใช้ 3G ท่านจะใช้ประโยชน์ด้านใดมากที่สุด
                 (คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)


 
ร้อยละ
เพื่อความบันเทิง
  • Download เพลง
ร้อยละ 15.0
  • ดู TV ออนไลน์
ร้อยละ 11.3
  • เล่นเกมส์
ร้อยละ  3.7
  • ฟังเพลงออนไลน์
ร้อยละ  1.1
31.1
เพื่อติดตามข่าวสาร หาความรู้
  • ค้นหาข้อมูลต่างๆ ทางระบบอินเตอร์เน็ต
ร้อยละ  22.8
  • Download ข้อมูลข่าวสารต่างๆ
ร้อยละ   2.4
25.2
เพื่อการติดต่อสื่อสาร
  • ใช้บริการ Video Call
ร้อยละ 18.2
  • เพื่อการพูดคุยทั่วไป
ร้อยละ  5.9
  • การเช็คเมลล์ ส่งเมลล์
ร้อยละ  0.5
24.6
เพื่อการทำงานและ การประกอบธุรกิจ
  • รับ/ส่ง ไฟล์งานไฟล์ข้อมูลต่างๆ
ร้อยละ 13.4
  • ทำให้สามารถทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น
ร้อยละ  1.3
14.7
อื่นๆ เช่น เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และคนรัก
4.4
 
 
             5. หากท่านเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G ค่าใช้บริการต่อเดือนสูงสุดที่ท่านรับได้ไม่ควรเกินกี่บาท

 
ร้อยละ
ต่ำกว่า 200 บาท
16.8
201-400 บาท
28.5
401-600 บาท
29.6
601-800 บาท
1.5
801-1,000 บาท
15.4
1,000 บาท ขึ้นไป
8.2
 
 
             6. หากท่านจะเปลี่ยนโทรศัพท์จากระบบ 2G มาเป็นระบบที่รองรับ 3G ได้ ท่านจะเปลี่ยนไปใช้
                 โทรศัพท์ยี่ห้ออะไร
 
ร้อยละ
Nokia
56.2
iPhone
17.4
BlackBerry
11.8
Samsung
6.6
iMobile
4.3
Sony Ericsson
1.5
Motorola
0.3
อื่นๆ เช่น HTC jPhone
1.7
 
 
             7. งบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการซื้อโทรศัพท์ระบบ 3G คือเท่าใด
 
ร้อยละ
ไม่เกิน 5,000 บาท
18.5
5,001 - 10,000 บาท
37.0
10,001 - 15,000 บาท
26.9
15,001 - 20,000 บาท
11.0
20,001 - 25,000 บาท
4.1
25,001 - 30,000 บาท
1.7
30,001 - 35,000 บาท
0.8
35,001 บาท ขึ้นไป
0.2
 
 
             8. ร้อยละของผู้ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G จำแนกตามอายุ
การตัดสินใจ
เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G
อายุ
รวม
18-25 ปี
26-35 ปี
36-45 ปี
46 ปีขึ้น
เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี
72.8
69.4
53.9
31.5
58.5
คงไม่เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี
12.1
11.1
13.9
10.4
11.9
ไม่เปลี่ยนไปใช้เลย
15.1
19.5
32.2
58.1
29.6
รวม
100.0
100.0
100.0
100.0
100.0
 
 
             9. ร้อยละของผู้ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G จำแนกตามระดับความรู้เรื่อง 3G
การตัดสินใจ
เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G
ระดับความรู้ 3G
รวม
ไม่มีความรู้เลย
มีความรู้ปานกลาง
มีความรู้มาก
เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี
21.9
58.9
19.2
100.0
คงไม่เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี
40.4
51.5
8.1
100.0
ไม่เปลี่ยนไปใช้เลย
67.8
26.6
5.6
100.0
รวม
37.7
48.5
13.8
100.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อศึกษารูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงความรู้ความเข้าใจและความพร้อมในการใช้ระบบโทรศัพท์
มือถือระบบ 3G เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสังคมไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยการสุ่มพื้นที่เก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ซึ่งจัดเป็นพื้นที่
ที่ประชาชนมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆของประเทศและประชากรเป้าหมาย
ที่มีโทรศัพท์มือถือ)  โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,143 คน  เป็นชาย
ร้อยละ 50.0  และหญิงร้อยละ 50.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ
สอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิดให้
ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน
บันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 6 - 8 สิงหาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 สิงหาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
571
50.0
             หญิง
572
50.0
รวม
1,143
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
299
26.2
             26 – 35 ปี
335
29.3
             36 – 45 ปี
259
22.7
             46 ปีขึ้นไป
250
21.8
รวม
1,143
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
713
62.4
             ปริญญาตรี
393
34.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
37
3.3
รวม
1,143
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
77
6.8
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
429
37.5
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
295
25.8
             รับจ้างทั่วไป
158
13.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
62
5.3
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
122
10.7
รวม
1,143
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776